ค่า SGOT สูง อันตรายไหม ? รู้เท่าทันสัญญาณเตือนโรคร้าย
ค่า SGOT หรือค่าตับสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายหรือเปล่า ? คำตอบคือ อันตราย !
ค่าตับสูง เกิดจากการที่ตับมีภาวะอักเสบ หรือเซลล์ตับมีความเสียหายเกิดขึ้น ทำให้เอนไซม์รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด จนค่าเอนไซม์ตับ หรือ ALT (SGPT), AST (SGOT) ซึ่งหมายถึงค่าชี้วัดระดับเอนไซม์พื้นฐานของโรคตับสูงขึ้น โดยปกติแล้ว ค่าตับของคนเราจะอยู่ที่ 10 – 40 แต่หากเกิน 40 ขึ้นไป แสดงว่าคุณกำลังมีอาการค่าตับสูง หรือภาวะตับอักเสบ โดยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเหล้า การติดเชื้อไวรัสที่ทำลายตับ ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี การกินยาบางชนิดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับตับ และอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่าเอนไซม์ตับสูง คือ “ไขมันพอกตับ”
ค่าตับสูง เกี่ยวกับไขมันพอกตับอย่างไร ?
เนื่องจากไขมันพอกตับคือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่สะสมไปใช้ได้หมด จึงเกิดการสะสมของไขมัน อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ ทำให้ตับเกิดความผิดปกติ ยิ่งค่า SGOT สูงมากเท่าไร และปล่อยไว้นาน ไม่ดูแลรักษาอาจส่งผลร้ายกลายเป็น “ตับแข็ง” และอาการค่าตับสูงอาจร้ายแรงถึงขั้น “มะเร็งตับ” ได้
สาเหตุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดไขมันพอกตับ และค่า SGOT สูง
- โรคอ้วน คือ มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ประมาณร้อยละ 20 จะส่งผลให้มีอาการของโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและมีไขมันพอกตับ
- การติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ที่พบได้บ่อยคือ ไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคไวรัสตับชนิดต่าง ๆ
- การรับประทานอาหารทอด อาหารมัน ของที่มีรสหวาน และน้ำตาลมากเกินไป
- การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และเกิดการสะสมในปริมาณมาก โดยอาจมาจากสารปนเปื้อนในอาหารที่มีสารเคมี การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับตับ เป็นต้น
ค่าตับสูง ควรทำอย่างไร ? รวมวิธีการดูแลสุขภาพตับเพื่อควบคุมค่าตับ
หลายคนอาจเกิดคำถามว่าค่าตับสูงรักษาอย่างไร สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การเข้ารับคำวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและแนวทางรักษา จากนั้น แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยวิธีลดค่าตับสูงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
- การควบคุมอาหาร โดยควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรุงสุก และสะอาด
- การหลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีรสหวาน
- การออกกำลังกายเป็นประจำ
- การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อตับ หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับ เช่น อาร์ทิโชก แดนดิไลออน โสมเกาหลี ขมิ้น
เมื่อตับแข็งแรง เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ระดับระดับเอนไซม์ในตับก็จะลดลง และกลับสู่ภาวะปกติเช่นกัน
ค่าเอนไซม์ตับสูงไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรมองข้าม ลิฟพลัส (Livplus) ขอสนับสนุนให้ป้องกันดีกว่ารักษา
หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการค่าตับสูงและสุขภาพตับโดยรวม ลิฟพลัส (Liveplus) คือคำตอบที่คุณกำลังมองหา ด้วยสารสกัดธรรมชาติถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ทิโชก แดนดิไลออน ขมิ้น และโสมเกาหลี ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำดีเพื่อการย่อยอาหารที่ดีขึ้น พร้อมทั้งฟื้นฟูการทำงานของตับและระบบทางเดินอาหารให้กลับมามีประสิทธิภาพสูงสุด ดูแลสุขภาพตับของคุณตั้งแต่วันนี้ด้วยลิฟพลัส (Liveplus) เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์แข็งแรงในทุกวัน ปรึกษาฟรีได้เลยวันนี้ โทร. 098-264-2464 หรือทักแชตเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Livplusthailand หรือ Line OA : @livplusthailand
ข้อมูลอ้างอิง :
- Bankok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 จาก https://www.facebook.com/BangkokHospital/photos/a.110810943139/10158642259138140/.
- ความหมาย ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2568 จาก https://www.pobpad.com/ไขมันพอกตับ.
- ไขมันพอกตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/fatty-liver-disease.
ไตกีรลาย ไขมันถึง 350 อัตรายมากไหม มีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
การมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงถึง 350 ถือว่าสูงกว่าค่าปกติ (ปกติไม่เกิน 150 mg/dL) ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายมีไขมันชนิดนี้สะสมมากเกินไป และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ
ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคต่างๆ ได้แก่
ไขมันพอกตับ: ใช่ค่ะ ไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นสาเหตุหลักของโรคไขมันพอกตับ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่การอักเสบของตับ และพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็งได้
โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง: ไขมันชนิดนี้เมื่อสะสมมากเกินไป จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ตับอ่อนอักเสบ: เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของตับอ่อนได้