สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับอาการจุกเสียดแน่นท้อง และอาจมองว่ามาจากสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน จนมักชะล่าใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติ เดี๋ยวก็หาย แต่หารู้ไม่ ภาวะเหล่านี้เป็นอีกสัญญาณเตือนของอันตรายร้ายแรง อย่าง “ภาวะไขมันพอกตับ” ที่กำลังบ่อนทำลายสุขภาพของคุณอยู่
ไขมันพอกตับ ต้นเหตุอาการเสียดท้องเกิดจากอะไร ?
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้หมด จึงเกิดการสะสมในตับเป็นจำนวนมาก โดยไขมันส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภท น้ำตาล แป้ง และไขมัน เมื่อร่างกายมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป จะเกิดการสะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันในเซลล์ตับ จนทำให้เกิดเป็น “ภาวะไขมันพอกตับ” นั่นเอง
อันตรายจากภาวะไขมันพอกตับ
หากมีอาการจุกเสียดท้องจาก “ไขมันพอกตับ” แล้วชะล่าใจ ไม่ใส่ใจสุขภาพ ไขมันที่แทรกตัวอยู่ในเซลล์ตับจะมีปริมาณเยอะมากขึ้น และทำลายเซลล์ตับ ต่อจากนั้นจะพัฒนาเป็นภาวะอันตรายอย่าง “ตับแข็ง” และอาจร้ายแรงถึงขั้น “มะเร็งตับ” ส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
ความแตกต่างระหว่างภาวะไขมันพอกตับกับโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หลายคนเกิดความชะล่าใจ และไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตับ รวมถึงละเลยการบำรุงรักษาสุขภาพตับอย่างเหมาะสม เพราะด้วยความเข้าใจผิด คิดว่าอาการจุกเสียดท้อง มีสาเหตุมาจากโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน และไม่คาดคิดว่าตนเองจะมีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ จึงเกิดการใส่ใจสุขภาพผิดจุด ส่งผลให้เมื่อรู้ตัวอีกทีก็อาจสายเสียแล้ว
ดังนั้น หากมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง คล้ายกรดไหลย้อน ควรเช็กสุขภาพอย่างเร่งด่วน ว่ามีสาเหตุเกิดจากกระเพาะ กรดไหลย้อน หรือไขมันพอกตับกันแน่ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเบื้องต้น ดังนี้
อาการของโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
- มีอาการจุกเสียด แสบที่บริเวณลิ้นปี่
- ปวดท้อง อืดท้อง บริเวณช่องท้องส่วนบนหรือสะดือ มักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น มักเป็นก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร เป็นต้น
- คลื่นไส้ อาเจียน อิ่มง่าย
- รู้สึกเหมือนอาหารตีย้อนกลับขึ้นที่คอ
- เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนบริเวณหน้าอกร่วมด้วย
- สามารถแก้อาการจุกท้องได้ด้วยการรับประทานยาลดกรด หรือยากระเพาะ
อาการของภาวะไขมันพอกตับ
- ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบ่อย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ไม่อยากอาหาร รับประทานข้าวนิดหน่อยก็จุกแน่น
- รู้สึกตึง หรือเจ็บชายโครงขวา
- รับประทานยาลดกรด หรือยากระเพาะแต่ไม่หาย
- ผิวและตาเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ
- ผิวหนังคัน ช้ำ หรือมีเลือดออก
หากใครลองเช็กแล้วพบอาการเหล่านี้ หรือสังเกตเห็นความผิดปกติที่เข้าข่ายภาวะไขมันพอกตับ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตับ รวมถึงหันมาใส่ใจสุขภาพด่วน ด้วยการออกกำลังกาย ลดการรับประทานของหวาน ของมัน ของทอด ควรเลือกรับประทานอาหารและสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อตับ เช่น เห็ดหลินจือ ขมิ้น โสม อาร์ทิโชก แดนดิไลออน เป็นต้น
เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพของตับ เราขอแนะนำ ลิฟพลัส (Livplus) ซึ่งมีสารสกัดธรรมชาติ ถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ทิโชก แดนดิไลออน ขมิ้น และโสมเกาหลี ด้วยคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างน้ำดีในการช่วยย่อย ให้ตับและระบบทางเดินอาหารกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนใจสอบถาม โทร. 098-264-2464 หรือทักแชตเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Livplusthailand หรือ Line OA : @livplusthailand
ข้อมูลอ้างอิง :
- ไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่ไม่รู้ตัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/fatty-liver-2
- อาการที่ควรรู้ของไขมันพอกตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 จาก https://ch9airport.com/th/อาการที่ควรรู้ของไขมัน/