ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพาราเซตามอล คือยาสามัญประจําบ้านที่หาซื้อได้ง่าย ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกรับประทานมากที่สุด พาราเซตามอล นอกจากเป็นยาที่ช่วยเรื่องภาวะปวด ลดไข้ แต่หากกินเกินปริมาณ หรือกินพร่ำเพรื่อ ก็ส่งผลร้ายต่อร่างกายและทำร้ายตับ จนกลายเป็นภาวะตับอักเสบได้
.
ยาพาราเซตามอล ทำร้ายตับได้อย่างไร?
เนื่องจากตับ เปรียบเสมือนโรงงานศูนย์กลางของร่างกาย และมีหน้าที่กำจัดของเสียและสารพิษ
เมื่อร่างกายได้รับพาราเซตามอล เข้าไปจะเกิดกระบวนการเมตาบอลึซึมและถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสาร NAPQI (N-acetyl-p-benzoquinone imine) เป็นสารที่ทำให้เกิดพิษต่อตับ ซึ่งถ้าทานยาพาราในปริมาณมากเกินไป หรือบ่อยเกินไปจนเกิดการสะสม จะทำให้เกิดภาวะ oxidative stress หรือภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งถ้าตับนั้นไม่มีความสามารถที่จะกำจัดออกได้อย่างทันท่วงที จะทำให้ตับเกิดความเสียหายได้
.
พฤติกรรมการทานยาพาราเซตามอลที่เสี่ยงตับพัง คือ
1.ไม่มีป่วย หรือไม่มีภาวะใดๆ แต่ทานยาดักภาวะไว้ก่อน
2.ปวดนิดหน่อย ก็ทานยาจนเคยชิน
3.ทานยาแก้ปวดติดต่อกันเกิน 5 วัน หรือทายาลดไข้เกิน 3 วัน ต่อสัปดาห์
4.ไม่ควรกินยาพาราร่วมกับแอลกอฮอล์ เพราะเสี่ยงตับอักเสบมากขึ้น
.
ภาวะของการใช้ยาพาราเซตามอลเกินปริมาณมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก เป็นระยะสั้น ๆ โดยจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมง บางรายอาจไม่มีภาวะ
ระยะที่ 2 หลังกินยาระหว่าง 24-48 ชั่วโมง ไม่มีภาวะแสดง แต่เมื่อเจาะเลือดจะพบว่าเอนไซม์ทรานซามิเนส (transaminase) เริ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ
ระยะที่ 3 หลังกินยาไปแล้ว 48 ชั่วโมง มีภาวะตับอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารอีกครั้ง มีภาวะแทรกซ้อนเหมือนตับอักเสบทั่วไป หากรุนแรงอาจมีภาวะสมองเสื่อมจากภาวะตับ และเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที
.
ซึ่งการใช้ยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมคือ
1.ในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
2.กินครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีภาวะปวด เป็นไข้
3.ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน
4.ระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
.
ดังนั้น อย่างที่กล่าวมาการรับประทานพาราเซตามอลพร่ำเพรื่อ หรือเกินปริมาณนั้น อันตรายต่อสุขภาพตับเป็นอย่างมาก ควรทานก็ต่อเมื่อมีภาวะเท่านั้น และหมั่นเช็คสุขภาพและสังเกตร่างกายของตัวเอง หากรู้สึกผิดปกติคล้ายที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ หรือทานลิฟพลัส ใส่ใจตับ ที่มีสารสกัดเข้มข้นดีต่อตับกว่า 12 ชนิด สอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
ข้อมูลอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1300
Sanook : https://www.sanook.com/health/6497/
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/medications-effect-live