อาการคันเป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงอาการทั่วไปที่ไม่รุนแรง แต่แท้จริงแล้ว อาการคันนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะที่ผิดปกติในร่างกาย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังหรือภาวะที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น ภาวะเกี่ยวกับตับ อาการคันจากภาวะตับนั้นควรสังเกตและตรวจสอบให้ดี เพราะสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของตับได้อย่างชัดเจน
สาเหตุของอาการคัน
อาการคันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้:
- เกิดจากภาวะทางผิวหนัง
อาการคันที่เกี่ยวข้องกับผิวหนังมักเกิดจากสภาพผิวแห้งเนื่องจากอายุ อากาศ หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น- ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- ผิวหนังอักเสบ
- ลมพิษ
- สะเก็ดเงิน
- แมลงกัดต่อย
- การติดเชื้อรา หรือหิด
- อาการคันจากการแพ้สารสัมผัสผิวหนัง
- เกิดจากภาวะทางระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
บางครั้งอาการคันอาจเกิดจากปัญหาภายในร่างกาย เช่น- ภาวะไตวายเรื้อรัง
- ภาวะดีซ่าน
- โรคตับอักเสบเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- มะเร็งเม็ดเลือด
หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
อาการคันที่เกี่ยวข้องกับตับเป็นอย่างไร?
ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหาร เมื่อเกิดความผิดปกติในตับ การทำงานของระบบน้ำดีจะเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดการอุดตันในท่อน้ำดี เมื่อน้ำดีไม่สามารถระบายออกได้ น้ำดีจะย้อนกลับไปที่ตับและเข้าสู่กระแสเลือด ไหลไปทั่วร่างกาย เมื่อสะสมที่ผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคันบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า หรือบริเวณที่สวมเสื้อผ้ารัดรูป
สังเกตอย่างไรว่าคันแบบไหนเสี่ยงภาวะตับ?
หากคุณมีอาการคันที่กระจายไปทั่วตัว โดยเฉพาะที่มือ เท้า หรือบริเวณที่มีเสื้อผ้ารัดรูป รวมถึงสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย:
- ผิวเหลืองที่เรียกดีซ่าน
- ไฝแดงคล้ายแมงมุม
- เต้านมโตในผู้ชาย
- ก้อนไขมันสีเหลืองบริเวณหนังตา
- ม้ามโต
- ผิวมีสีโคลน
หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของตับที่ควรรีบปรึกษาแพทย์
อาการอื่นที่เสี่ยงต่อภาวะตับ
หากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรชะล่าใจ เพราะจากภาวะตับอักเสบอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งตับได้ ควรตรวจสอบและพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกต้องแต่เนิ่น ๆ
“ลิฟพลัส” มีสารสกัดธรรมชาติ ถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ติโช๊ค แดนดิไลออน ขมิ้น โสมเกาหลี เป็นต้น สารสกัดเหล่านี้กระตุ้นการสร้างน้ำดีในการช่วยย่อย ตับและระบบทางเดินอาหารจึงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนใจสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล : https://bit.ly/3dHw3o3
โรงพยาบาลเปาโล : https://bit.ly/3PAcsTO
หมอชาวบ้าน : https://bit.ly/3wfMMVH
โรงพยาบาลเพชรเวช : https://bit.ly/3AzoWak
โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ : https://bit.ly/3QSadfN