รู้หรือไม่? ภาวะ ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บชายโครงขวา จากไขมันพอกตับ อันตรายกว่าที่คิด ภาวะเหล่านี้หลายคนอาจมองข้าม เพียงเพราะเป็นภาวะที่น่ารำคาญแต่ไม่รุนแรง นี่คือสาเหตุที่จะนำไปสู่ “มะเร็งตับ” ได้
.
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันเข้าไปแทรกอยู่ตามเซลล์ของตับ ถ้าหากตับมีไขมันสะสมอยู่มากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับก็จะกลายเป็นภาวะไขมันพอกตับ โดยภาวะไขมันพอกตับจะทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตายและเกิดพังผืดภายในตับ ซึ่งนำไปสู่ภาวะตับแข็ง และอาจร้ายแรงถึง “มะเร็งตับ”
.
โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนที่มี อายุ 40 – 50 ปีขึ้นไป หรือในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนอ้วนลงพุง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ทานของมันของทอด และไม่ออกกำลังกาย
.
ภาวะไขมันพอกตับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน
2. ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการกิน จำพวกอาหารมัน อาหารหวาน หรือพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และเมื่อนำไปใช้ไม่หมดก็ทำให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมในตับในที่สุด
.
โดยทั่วไปส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะผิดปกติใดๆ มักจะพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจทางการแพทย์ด้วยความเจ็บป่วยอื่นๆ หรืออาจมีภาวะที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น
– อ่อนเพลีย
– แน่นท้อง
– ท้องอืด
– เจ็บชายโครงขวา
.
และภาวะไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
1. ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ โดยที่ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีพังผืด
2. ระยะที่สอง เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของพังผืดในเนื้อตับ
3. ระยะที่สาม เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และมีการสะสมของพังผืดในตับอย่างชัดเจน
4. ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ตับมีพังผืดอยู่เป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจจะปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นตาเหลือง ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และการเกิดเป็น “มะเร็งตับ”
.
ดังนั้นหากพบว่าเป็นไขมันพอกตับ ควรดูแลตับให้ดีก่อนกลายเป็นมะเร็งตับ
1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การควบคุมน้ำหนักลงได้ ร้อยละ 7 ถึง 10 ของน้ำหนักตัว จะทำให้ภาวะไขมันพอกตับ ไม่อักเสบในเนื้อตับ ไปจนถึงทำให้พังผืดในตับดีขึ้น โดยเกณฑ์การควบคุมน้ำหนักควรอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัมต่อ 1 เดือน
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือ การควบคุมปริมาณแคลอรี่ ปริมาณไขมัน แป้ง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ประกอบไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมักจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่ม น้ำผลไม้บรรจุ ไอศครีม อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ชานม ขนมขบเคี้ยวต่างๆ
3. การออกกำลังกาย ทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เดิน, วิ่ง, ปั่นจักรยาน, เต้น) สัปดาห์ละ 150 นาที ถึง 200 นาที ไปจนถึงการออกกำลังกายโดยมีแรงต้านทาน (weight training)
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ตรวจหาภาวะร่วมหรือภาวะที่มีความเสี่ยงร่วมต่อภาวะไขมันพอกตับ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
6. ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่น ลิฟพลัส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใส่ใจตับ ที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับกว่า 12 ชนิด
เช่น สารสกัดอาร์ติโช๊ค และ แดนดิไลออน
.
ดังนั้น หากพบว่ามีภาวะไขมันพอกตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนสายกลายเป็นมะเร็งตับ
เพราะมะเร็งตับมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วอย่างมาก และผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็มักมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น!
หากสนใจสั่งซื้อโทร 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand
หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
ข้อมูลอ้างอิง :
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ : https://bangkokhatyai.com/knowledge/view/779
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/fatty-liver-disease
โรงพยบาลกรุงเทพภูเก็ต : https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/fatty-liver/