เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย โรคภัยต่างๆ จึงเริ่มรุมเร้า โดยโรคส่วนใหญ่ที่มักเกิดขึ้นคือ เบาหวาน, ไขมัน, ความดัน เป็นต้น
ภาวะเหล่านี้หากละเลย ไม่ดูแลให้ดี สามารถกลายเป็น “ไขมันพอกตับ” ได้ง่ายกว่าคนปกติไขมันพอกตับเกี่ยวข้องกับระบบน้ำตาล และการเผาผลาญพลังงาน หากมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการ ตับก็นำไปสร้างเป็นไขมัน และสะสมมากขึ้นเป็นไขมันพอกตับ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ หากเป็นไขมันพอกตับแล้ว ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไร้ยารักษา หากไม่ใส่ใจสุขภาพให้ดี จาก “ไขมันพอกตับ” สามารถกลายเป็น “ตับแข็ง” และร้ายแรงถึงขั้น “มะเร็งตับ” ได้
เบาหวาน ไขมัน ความดัน เสี่ยง “ไขมันพอกตับ” สูงกว่าคนปกติอย่างไร?
1.เบาหวาน คือ ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือด และเปลี่ยนมาเป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายผิดปกติ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ น้ำตาลจึงสะสมในเลือดปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจ รวมถึง “ไขมันพอกตับ”
2.ไขมันในเลือด คือ ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าคนทั่วไป ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นคอเลสเตอรอล หรือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมากมาย ทั้ง ไขมันพอกตับ โรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบอุดตันและอันตรายถึงชีวิตได้
3.ความดัน คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ทั้ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งเมื่อการเผาผลาญพลังงานผิดปกติจึงก่อให้เกิด “ไขมันพอกตับ” ได้
อย่างที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่เป็น เบาหวาน, ไขมัน, ความดัน มีภาวะที่เอื้อต่อการเกิดไขมันพอกตับได้ง่ายกว่าคนปกติ ดังนั้นใครที่มีภาวะเบาหวาน, ไขมัน, ความดัน ควรรีบใส่ใจสุขภาพตับก่อนสายกลายเป็น “ไขมันพอกตับ”
การดูแลตัวเองให้ห่างไกลไขมันพอกตับ มีดังนี้
1.ลดปริมาณอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
2.ลดของทอดของมัน หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว
3.ความคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
5.งดการสูบบุหรี่
6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
7.เลือกทานอาหารและสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย, ตับ และระบบทางเดินอาหาร เช่น
เห็ดหลินจือ, เห็ดชิตาเกะ : เสริมภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงตับแข็ง มะเร็ง และไวรัส
อาร์ติโช๊ค, แดนดิไลออน : เสริมการทำงานของตับ การไหลเวียนและการสร้างน้ำดี
ขมิ้น, โสมไซบีเรีย, โสมเกาหลี : ดีท็อกซ์ Cholesterol ในตับ คุมระดับน้ำตาลและความดัน เป็นต้น
“ลิฟพลัสใส่ใจตับ” มีสารสกัดถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ติโช๊ค แดนดิไลออน ขมิ้น โสมเกาหลี เป็นต้น เสริมการทำงานของตับและระบบทางเดินอาหารให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนใจสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
ข้อมูลอ้างอิง
Pobpad : https://bit.ly/3gKLM7x
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://bit.ly/3XNqV47
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://bit.ly/3GX2rzr
Bumrungrad International Hospital https://bit.ly/3VqKcag
Medpark Hospital : https://bit.ly/3FglN1r
Bangkok Hospital : https://bit.ly/3AVmA5f
Paolo Hospital : https://bit.ly/3ucRwtP
VIBHARAM HOSPITAL : https://bit.ly/3VqKq16