หลายคนมองว่าภาวะปวดท้องเป็นเรื่องปกติ อาจจะเป็นแค่กระเพาะจากการกินข้าวไม่ตรงเวลา แต่ภาวะปวดท้องสามารถบ่งบอกภาวะอื่นๆ ซึ่ง 1 ในนั้นคือภาวะไขมันพอกตับ และถ้าหากรู้ตัวช้า หรือไม่ดูแลสุขภาพ อาจกลายเป็นมะเร็งตับได้
.
ปวดท้องกระเพาะ และ ไขมันพอกตับ เช็คได้อย่างไร
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ ซึ่งทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การเกิดผังพืดในตับ กลายเป็นภาวะตับแข็ง และอาจนำไปสู่การเกิดเป็นมะเร็งตับในที่สุด
.
ซึ่งไขมันพอกตับมักมีอาการคล้ายกับภาวะอื่นๆ เช่น กระเพาะ กรดไหลย้อน จนผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสับสน และไม่คาดคิดว่าตนเองจะเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
.
อาการกระเพาะและไขมันพอกตับ แตกต่างกันอย่างไร
ภาวะกระเพาะจะมีอาการดังนี้
1.ปวดท้องแบบจุกแสบ จุกแน่นอืดท้อง ที่บริเวณลิ้นปี่หรือช่องท้องส่วนบนหรือสะดืออาการมักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร ก่อนหรือหลังรับประทานอาหารก็ได้
2.คลื่นไส้ อาเจียน อิ่มง่าย
3.อาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนหน้าอกร่วมด้วยได้
.
และไขมันพอกตับมีอาการดังนี้
1.ท้องอืด แน่นท้อง
2.อ่อนเพลีย
3.กินข้าวได้เพียงนิดหน่อย
4.เจ็บชายโครงขวา
.
ซึ่งเมื่อนำอาการของทั้ง 2 ภาวะมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ชัดว่ามีบางอาการที่คล้ายกัน แต่บางอาการก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ จะสามารถแยกภาวะกระเพาะและไขมันพอกตับได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น หากกำลังมีอาการท้องอืดเรื้อรัง หรือเป็นอาการอย่างที่กล่าวมา ทานยาลดกรดไม่หาย นั่นแหละคือสัญญาณเตือนว่ากำลังเป็นไขมันพอกตับ ควรใส่ใจตับให้ดีก่อนกลายเป็นมะเร็งตับ
.
วิธีการดูแลสุขภาพตับก่อนเป็นไขมันพอกตับ
1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักไม่มากเกินไป
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน ของหวาน
3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน สัปดาห์ละ 150 นาที ส่วนผู้สูงอายุเป็นการยืนแกว่งแขนอยู่กับที่ 30 นาทีต่อวัน
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. เช็คสุขภาพประจำอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากมีภาวะ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ
6. ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่น ลิฟพลัส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใส่ใจตับ ที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับกว่า 12 ชนิด เช่น สารสกัดอาร์ติโช๊ค และ แดนดิไลออน
.
ดังนั้น หากพบว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นกระเพาะหรือภาวะไขมันพอกตับ สามารถสอบถาม โทร 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/fatty-liver-disease
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต : https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/fatty-liver/
โรงพยาบาลกรุงเทพ : https://www.bangkokhospital.com/content/fatty-liver
โรงพยาบาลบางปกอก 9 : https://www.bangpakokhospital.com/care_blog/content/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5