You are currently viewing เตือน! กลุ่มยาอันตราย เป็นภัยต่อตับ

เตือน! กลุ่มยาอันตราย เป็นภัยต่อตับ

ปัจจุบันมียามากมายหลายชนิดที่สามารถหาซื้อทานเองได้ง่าย จนหลายคนทานกันอย่างไม่ระวัง
ทานผิดวิธี ทานพร่ำเพรื่อและเกินขนาด จึงก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง จนถึงขั้นตับวายและเสียชีวิตได้

นอกจากพาราเซตตามอลแล้ว ก็ยังมียาอีกมากกว่า 1,000 ชนิด ที่ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบจากผลข้างเคียง
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ยาหลายชนิดถูกถอดถอน และห้ามจำหน่าย รวมถึงการทานยาบางชนิดจำเป็นต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คอยให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจากสถิติพบว่ามีผู้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน กว่าร้อยละ 50 มีสาเหตุ
เกิดมาจากยา โดยคิดเป็นสาเหตุจากพาราเซตตามอล ร้อยละ 39 และยาอื่นๆ อีกร้อยละ 11  ยาที่กล่าวมาได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะ (Ciprofloxacin, Erythromycin, Amoxicilin)
  • ยาแก้ปวด แก้ข้ออักเสบ (Diclofenac)
  • ยารักษาโรคหัวใจ (Aspirin, Amiodarone)
  • ยากันชัก (Phenobarbital, Carbamazepine (Tegretol®️), Valproate sodium (Depakin®️), Phenytoin (Dilantin®️))
  • ยาลดไขมัน (Statins)
  • ยาความดันโลหิต (Methyldopa)
  • ยาจิตเวช (Chlorpromazine)
  • ยารักษาเชื้อรา (Fluconazole)
  • ยารักษาวัณโรค (Isoniazid, Rifampin, Pyrazinamide)
  • ยารักษาโรคภูมิแพ้ในกลุ่ม ยาสเตียรอยด์
  • ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน
  • สมุนไพรที่มีความเป็นพิษต่อตับ เช่น ขี้เหล็ก, บอระเพ็ด เป็นต้น

ซึ่งการทานยาเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบได้ง่ายในผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง เอดส์ ตับแข็ง หรือตับทำงานผิดปกติ เนื่องจากตับจะทำหน้าที่ในการขับยาและสารพิษ
หากตับทำหน้าที่บกพร่องก็จะทำให้มีการสะสมของยา และสารพิษส่วนเกินไว้มาก ส่งผลให้ตับอักเสบเฉียบพลันได้
โดยอาการที่พบบ่อยเมื่อเกิดภาวะตับอักเสบจากการทานยา คือ จุกเสียดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นไข้
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระซีด และตัวเหลืองตาเหลือง

หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงกลุ่มยา ที่มีผลต่อการอักเสบของตับได้ ควรรีบหันมาดูแล และใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น
โดยการตรวจสุขภาพตับเป็นประจำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวและรักษาได้ทันท่วงที

ลิฟพลัสผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงตับที่ช่วยดูแลตับของคุณให้แข็งแรง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันวิจัยของประเทศฟินแลนด์ สอบถามได้ที่ 098-264-2464

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
กพย. ( http://www.thaidrugwatch.org/blog/?p=1180 )
สยามรัฐ ( https://siamrath.co.th/n/119399 )
มหาชัย ทีแอลซี คลินิกเทคนิคการแพทย์ ( https://www.healthlabclinic.com/ยาที่มีผลต่อตับ/ )

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือโทรสั่งซื้อสินค้า

ใส่ความเห็น