ไขมันพอกตับไวรัสตับอักเสบถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ชีวิตประจำวันและคนส่วนใหญ่มักมองข้าม
เนื่องจากทั้งสองภาวะนี้ เมื่อเป็นแล้วส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่บางรายอาจมีอาการเล็กๆน้อยๆ ที่ดูไม่ร้ายแรง
จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักไม่สนใจอาการเหล่านั้น จนเมื่อมารู้ตัวอีกทีก็สายเกินแก้เสียแล้ว
.
ไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ Triglyceride ในเซลล์ตับ
เมื่อสะสมนานเข้าโดยไม่รีบรักษาและปล่อยให้เรื้อรัง เป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดพังผืดในตับ ตับแข็ง และร้ายแรงถึงมะเร็งตับได้!
.
สาเหตุการเกิดไขมันพอกตับมีหลายปัจจัย คือ
เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ : ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละบุคคล เช่น ดื่มมานานแค่ไหน อายุ
และปริมาณการดื่ม เป็นต้น
เกิดจากโรคอื่น : โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
เกิดจากปัจจัยด้านอื่น : การทานอาหารที่มีพลังงานสูง
จำพวกไขมัน ของมัน ของทอด แป้ง น้ำตาลมากเกินไป รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
.
อาการไขมันพอกตับมักไม่แสดงอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอ
ที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับ จึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ
.
ไวรัสตับอักเสบ มี 5 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบ A B C D โดยในไทยไวรัสตับอักเสบที่พบมากที่สุดคือ คือ บี ซี
เนื่องจากประชากรร้อยละ 5 เป็นไวรัสตับอักเสบ B เรื้อรัง และร้อยละ 1 เป็นไวรัสตับอักเสบ C เรื้อรัง ซึ่งหากเป็นแล้วไม่รักษาหรือดูแลสุขภาพตับให้ดีก็เสี่ยงตับแข็งและร้ายแรงถึงขั้นมะเร็งตับได้
.
ไวรัสตับอักเสบบี คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้เข็มสักตามตัว
หรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%)
การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
อย่างไรก็ดี เชื้อนี้จะไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหารหรือน้ำดื่ม การให้นม และการจูบกัน (ถ้าปากไม่มีแผล)
.
ไวรัสตับอักเสบซี คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์
คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบีแต่ไม่สามารถติดต่อกันได้
ทางการให้นมบุตร การจามหรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน
.
อาการ
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการคล้ายๆ กัน ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง ยกเว้นส่วนน้อยจะแสดงอาการ คือ ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต หากบ่อยไว้นานจนเรื้อรัง เซลล์ตับจะถูกทำลายมากขึ้น จะก่อให้เกิดตับแข็ง ไปจนถึงขั้นมะเร็งตับได้
.
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้รู้ว่า ไขมันพอกตับ และไวรัสตับอักเสบ เมื่อเป็นแล้วส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ ยกเว้นส่วนน้อยที่แสดงอาการ ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะโรคเหล่านี้จะดำเนินการทำลายร่างกายภายใน
ไปอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเลยว่ามีโรคอันตราย แอบซ่อนแฝงอยู่ร่างกาย
ดังนั้นแม้ว่าโรคเหล่านี้จะไม่แสดงอาการให้รู้สึกรำคาญใจหรือไม่สบายใจก็ไม่ได้แปลว่าไม่อันตราย!
เพราะฉะนั้นควรหมั่นไปตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หรือหากไม่แน่ใจเรื่องสุขภาพ ไม่ต้องรอ
รีบปรึกษาแพทย์ และรีบดูแลสุขภาพตับก่อนที่จะสายเกินแก้ ด้วยความห่วงใยจากลิฟพลัส
หากใครที่กำลังมองหาตัวช่วย หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการดูแลสุขภาพตับ ต้อง “ลิฟพลัสใส่ใจตับ” เรามีสารสกัดจากสมุนไพรถึง 12 ชนิด เข้าไปฟื้นฟูตับให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สนใจสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
ข้อมูลอ้างอิง :
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์
https://bit.ly/3DW5S4g
https://bit.ly/3pShDno
โรงพยาบาลกรุงเทพ
https://bit.ly/3smK8wz
โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์
https://bit.ly/3F9nJWI
https://bit.ly/3dSyQHH
https://bit.ly/3q1fnKH