“ตับ”เปรียบเสมือนโรงงานใหญ่ภายในร่างกาย ที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษ, ควบคุมระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย สังเคราะห์และหลั่งเอนไซม์ เพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น, และผลิตน้ำดี เพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทไขมันก่อนส่งผ่านไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นต้น จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดเจนว่าตับนั้นทำหน้าที่หลายอย่างและยังทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะอื่นๆในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นหาก “ตับพัง” ชีวิตเราก็อาจดับได้
.
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองข้ามการดูแลใส่ใจสุขภาพตับ และใช้ชีวิตประจำวันที่ทำร้ายตับโดยไม่รู้ตัว เช่น การกินอาหารตามใจปาก กินอาหารทอด อาหารมัน อาหารหวาน และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารเหล่านี้ หากทำอย่างต่อเนื่องนานๆเข้า หรือกินมากเกินปริมาณที่ร่างกายรับได้ต่อวัน จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้หมด จนเกิดการสะสมไขมันส่วนเกินที่ตับ และก่อให้เกิด ”ภาวะไขมันพอกตับ” ได้ ผู้ที่ป่วยเป็นไขมันพอกตับส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว เพราะไขมันพอกตับมักไม่แสดงอาการ แต่ก็มีบางรายที่แสดงอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งหากรู้ตัวไวก็สามารถรักษาได้ทัน แต่หากรู้ตัวช้าก็อาจสายเกินแก้อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็น “มะเร็งตับ” ได้
.
“ภาวะไขมันพอกตับ” แบ่งได้ 4 ระยะ ดังนี้
– ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ ซึ่งยังไม่รุนแรงมาก
– ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ
เกิน 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้
– ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
– ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลาย ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ก่อให้เกิด “ตับแข็ง” และจะพัฒนากลายเป็น “มะเร็งตับ” ได้ในที่สุด
.
สังเกตได้อย่างไรว่าเป็นไขมันพอกตับ?
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่งบางรายก็แสดงอาการเพียงเล็กน้อย ดังนั้นทางที่ดีควรตรวจสุขภาพตับทุกปี หรือเช็คอาการเบื้องต้นได้ดังนี้
- กินข้าวไม่กี่คำก็แน่นท้อง อืดท้อง
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียบ่อย
- มักเจ็บชายโครงด้านขวา
หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตับ
.
วิธีการป้องกัน และลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด “ไขมันพอกตับ”
- ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่าตามใจปากมากจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก อาหารทอด อาหารมัน ของหวาน เช่น เค้ก กาแฟ ลอดช่องน้ำกะทิ เป็นต้น
- ควรออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง หากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ อาจออกกำลังกายเบาๆ เท่าที่ทำได้
- หากไม่ค่อยมีเวลาก็สามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยดูแลตับได้ เช่น “ลิฟพลัส” มีสมุนไพรที่ดีต่อตับถึง 12 ชนิด ไม่ตกค้าง ดูแลตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ดังนั้นอย่าละเลย และหมั่นดูแลสุขภาพตับกันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจากลิฟพลัสค่ะ
หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031
.
ข้อมูลอ้างอิง
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4 : https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A/3-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E2%80%A6%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87
โรงพยาบาลกรุงเทพ: https://www.bangkokhospital.com/content/liver-failure
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ : https://www.thonburihospital.com/NAFLD.html