You are currently viewing อาหารสำหรับโรคตับแข็งกินอะไรได้บ้าง และอะไรที่ห้ามกิน ?

อาหารสำหรับโรคตับแข็งกินอะไรได้บ้าง และอะไรที่ห้ามกิน ?

Table of Contents

โรคตับแข็งเป็นภาวะที่เกิดจากอาการตับอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลาย และเกิดพังผืดขึ้นในตับ ทำให้ตับทำงานได้ลดลง กระทบต่อระบบเผาผลาญ การดูดซึมสารอาหาร และการล้างพิษในร่างกาย 

ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยชะลอการลุกลามของโรค ลดภาวะแทรกซ้อน เสริมสุขภาพตับให้แข็งแรงขึ้น และป้องกันภาวะที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ดูแลสามารถเลือกอาหารได้อย่างเหมาะสม เราได้รวบรวมอาหารที่กินได้ และอาหารที่ห้ามกิน มาแนะนำกัน

โรคตับแข็งกินอะไรได้บ้าง ?

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคตับแข็งสามารถรับประทานได้ มีดังต่อไปนี้

อาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง

ผู้ป่วยโรคตับแข็งต้องการโปรตีน เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย แต่ต้องเลือกแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับตับมากเกินไป โดยมีอาหารแนะนำ เช่น  

  • ปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
  • เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น อกไก่ไม่มีหนัง
  • ไข่ขาว เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและไม่มีไขมัน
  • ถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว
  • โปรตีนจากนม เช่น นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนช่วยให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งได้รับพลังงานอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่สร้างภาระให้ตับมากเกินไป โดยมีอาหารแนะนำ เช่น 

  • ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รวมถึงขนมปังโฮลวีต
  • พืชที่มีรากหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ที่ไม่ผ่านการทอด

ผักและผลไม้

ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูตับ ทั้งยังให้เส้นใยอาหารที่ช่วยในระบบขับถ่าย ลดการสะสมของเสียในร่างกาย โดยผักและผลไม้ที่แนะนำมีดังนี้

  • ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม บรอกโคลี ช่วยล้างพิษและลดการอักเสบ
  • มะเขือเทศ มีไลโคปีนที่ช่วยปกป้องเซลล์ตับ
  • แคร์รอต แตงกวา บีตรูต ช่วยเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการล้างพิษ
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ผลไม้สดทั่วไปที่ไม่หวานจัด เช่น แอปเปิล ส้ม ฝรั่ง มะละกอ

อาหารเสริมบำรุงตับ

นอกจากอาหารหลัก การใช้อาหารเสริมบางชนิด ยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับ โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ พร้อมคุณสมบัติบำรุงตับ และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

โรคตับแข็งห้ามกินอะไร ?

การหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นภาระต่อการทำงานของตับ คืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรมองข้าม ซึ่งมีสิ่งที่ห้ามกิน ดังนี้

อาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง

ไขมันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตับทำงานหนักขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้

  • อาหารทอดน้ำมันท่วม เช่น เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด กล้วยทอด
  • เนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หนังไก่ หนังหมู
  • เนยเทียม มาร์การีน
  • ขนมกรุบกรอบ
  • อาหารแปรรูปที่มีไขมันทรานส์ เช่น คุกกี้ เค้ก โดนัท

อาหารที่มีโซเดียมสูง

โซเดียมทำให้เกิดการสะสมของน้ำในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยตับแข็ง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้

  • อาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ปลาร้า กะปิ
  • อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง
  • อาหารกระป๋อง
  • น้ำจิ้มต่าง ๆ เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำปลา
  • ซุปก้อนสำเร็จรูป ผงปรุงรส

อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต

น้ำตาลและแป้งขัดขาวทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตับต้องทำงานหนักในการควบคุมระดับน้ำตาล ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้

  • ขนมหวาน เค้ก คุกกี้ ช็อกโกแลต
  • น้ำอัดลม น้ำหวาน
  • แป้งขัดขาว ข้าวขัดขาว
  • ขนมปังขาว
  • น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเพิ่ม

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลัง หรือน้ำอัดลมบางชนิด จะเพิ่มภาระให้ตับในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย จึงควรงดหรือลดปริมาณการดื่มลง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เป็นสารพิษโดยตรงต่อตับ และเป็นสาเหตุหลักของโรคตับแข็ง ผู้ป่วยโรคตับแข็งต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

ผู้สูงอายุมีความเข้าใจว่าเป็นโรคตับแข็งกินอะไรได้บ้าง และเลือกอาหารอย่างเหมาะสม

เคล็ดลับในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพตับที่ดี

นอกจากการเลือกกินอาหารแล้ว ผู้ป่วยยังควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ เพื่อให้มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีมากที่สุด

  • รับประทานอาหารให้เป็นมื้อเล็ก ๆ โดยควรแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อลดภาระการทำงานของตับในแต่ละครั้ง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยในกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพตับเป็นประจำ เพื่อติดตามอาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปรับแผนการรับประทานอาหารตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการ

ด้วยเคล็ดลับการดูแลตนเองเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งสามารถดูแลตนเอง พร้อมกับช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ผู้ป่วย

นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยสำคัญอย่างอาหารเสริมที่ช่วยฟื้นฟูและสนับสนุนการทำงานของตับ ขอแนะนำ Livplus อาหารเสริมบำรุงตับด้วยสารสกัดธรรมชาติ 100% ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยจริง เพื่อช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับในระบบการทำงานของตับ เริ่มดูแลสุขภาพตับของคุณตั้งแต่วันนี้ ! สั่งซื้อ Livplus ได้แล้ววันนี้ที่ Facebook: Livplusthailand หรือ Line OA: @Livplusthailand

ข้อมูลอ้างอิง

ความรู้เรื่องตับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือโทรสั่งซื้อสินค้า

ใส่ความเห็น