Table of Contents
อาการปวดท้องเป็นภาวะที่ทำให้หลายคนรู้สึกกังวลใจ ยิ่งถ้าเกิดบ่อย ๆ ยิ่งต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ การได้รู้ว่าตำแหน่งปวดท้องที่กำลังเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพในเรื่องใด จะช่วยให้เราเตรียมพร้อมรับมือ หรือเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที
9 ตำแหน่งปวดท้องตรงไหนบอกอะไร ?
ในแต่ละตำแหน่งปวดท้อง เป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันออกไป แบ่งได้ดังนี้
ตำแหน่งที่ 1 ปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา
อาการปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา กดแล้วเป็นก้อนแข็ง ๆ และมีอาการตัวเหลืองร่วมด้วย เสี่ยงที่จะมีภาวะความบกพร่องของตับและถุงน้ำดี
ตำแหน่งที่ 2 ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่
อาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ สามารถบ่งบอกความเสี่ยงของโรคได้หลากหลาย ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
- หากมีอาการปวดร่วมกับเจ็บหรือแน่นหน้าอก อาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
- หากมีอาการปวดเป็นประจำเมื่อหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
- หากปวดรุนแรงหรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาจเป็นภาวะตับอ่อนอักเสบ
- หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่และแข็ง เสี่ยงมีภาวะตับโต
- หากมีอาการท้องอืดแน่น เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
ตำแหน่งที่ 3 ปวดบริเวณชายโครงซ้าย
ตำแหน่งนี้คือบริเวณที่ตั้งของม้าม หากมีอาการปวดบริเวณนี้ อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของภาวะม้ามโต ควรต้องรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
ตำแหน่งที่ 4 และ 6 ปวดบริเวณบั้นเอวขวาหรือบั้นเอวซ้าย
หากปวดบริเวณนี้มักเกี่ยวข้องกับปัญหาของไตและท่อได ซึ่งสามารถแบ่งอาการได้ดังนี้
- หากมีอาการปวดเอว ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย มีเลือดปนในปัสสาวะ ร่วมกับอาการปวดร้าวไปถึงต้นขา อาจเกิดภาวะเป็นนิ่วในไต
- หากมีอาการปวด ร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น เสี่ยงเป็นกรวยไตอักเสบ
ตำแหน่งที่ 5 ปวดบริเวณรอบสะดือ
การปวดบริเวณนี้อาจเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือโรคกระเพาะและลำไส้ต่าง ๆ รวมถึงยังเป็นสัญญาณแรกของโรคไส้ติ่งอักเสบ โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่อาการจะย้ายไปที่ท้องน้อยด้านขวา
ตำแหน่งที่ 7 ปวดบริเวณท้องน้อยขวา
อาการปวดบริเวณนี้มักบ่งบอกความผิดปกติบริเวณไส้ติ่ง ท่อไต ปากมดลูก และรังไข่ โดยสามารถแบ่งแต่ละอาการได้ดังนี้
- หากมีอาการปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ ร้าวมาที่ต้นขา เสี่ยงเป็นกรวยไตอักเสบหรือนิ่วในไต
- หากมีอาการปวดเสียด บีบตลอดเวลา กดแล้วเจ็บ เป็นสัญญาณของไส้ติ่งอักเสบ
- หากมีอาการตกขาว ไข้สูง อาจเป็นภาวะของปีกมดลูกอักเสบ
- หากคลำแล้วเจอก้อนเนื้อ อาจเกิดจากภาวะรังไข่ผิดปกติ
ตำแหน่งที่ 8 ปวดบริเวณท้องน้อยตรงกลาง
การปวดบริเวณนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะและมดลูก ซึ่งในแต่ละอาการอาจบ่งบอกถึงภาวะเหล่านี้
- หากมีอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- หากมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้สูง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจเป็นมดลูกอักเสบ
- หากมีอาการปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน ปวดท้องเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณว่ามดลูกมีปัญหา
ตำแหน่งที่ 9 ปวดบริเวณท้องน้อยซ้าย
อาการปวดท้องในบริเวณนี้ เป็นสัญญาณของการเกิดโรคได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
- หากมีอาการปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ ร้าวมาที่ต้นขา อาจบ่งชี้ว่าเป็นนิ่วในท่อไต
- หากมีอาการปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น และมีตกขาว อาจเกิดจากภาวะมดลูกอักเสบ
- หากมีอาการปวด ร่วมกับการถ่ายอุจจาระผิดปกติ อาจเกิดจากโรคลำไส้ใหญ่
- หากคลำพบก้อนเนื้อ ร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ หรืออุจจาระมีมูกเลือดปน สลับกับท้องเสีย อาจเป็นเนื้องอกในลำไส้
อาการปวดท้องที่ต้องรีบไปพบแพทย์
สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการปวดท้องลักษณะนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน มีดังนี้
- ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมง
- ปวดจนรับประทานอาหารไม่ได้
- ปวดจนอาเจียน
- ปวดมากขึ้นเมื่อขยับตัว
- ปวดร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดท้องและมีไข้ร่วมด้วย
ปวดชายโครงขวา เสี่ยงไขมันพอกตับ ฟื้นฟูแลดูแลด้วย Livplus อาหารเสริมบำรุงตับ
สำหรับคนที่มีอาการปวดชายโครงขวา อาจเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับตับ ดังนั้นก่อนที่จะลุกลามจนร้ายแรง มาเริ่มต้นดูแลตับโดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดี และเสริมด้วย Livplus เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการฟื้นฟูตับ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่หน้าเว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตับและผลิตภัณฑ์ได้ที่ Facebook: Livplusthailand หรือ Line OA: @Livplusthailand
ข้อมูลอ้างอิง
- ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรคอะไรบ้าง ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ตำแหน่งปวดท้อง-บอกโรคอะ/
ความรู้เรื่องตับ