Table of Contents
ตับ เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ทั้งยังช่วยปรับสมดุล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย การที่ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงได้ ซึ่งการตรวจค่าตับอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยให้เรารู้ถึงความผิดปกติของร่างกายและหาวิธีดูแลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการตรวจสุขภาพตับที่นิยมใช้กันในปัจจุบันก็คือ การตรวจหาค่า GGT เพื่อดูว่าตับทำงานปกติหรือไม่
ค่า GGT คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพตับ ?
ค่า GGT (Gamma-Glutamyl Transferase) คือเอนไซม์ที่พบในตับ มีหน้าที่ช่วยลำเลียงกรดอะมิโนและเผาผลาญกลูตาไธโอน รวมถึงใช้เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพตับ ที่สามารถนำมาประเมินความเสี่ยงของโรคตับแข็งหรือโรคไขมันพอกตับต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ค่า GGT จึงถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้การทำงานของตับ เมื่อต้องการตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง หรือไขมันพอกตับหรือไม่
การตรวจค่า GGT จะดำเนินการเมื่อแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคตับ ทั้งอาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ซึ่งจะช่วยหาความผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค่าปกติของ GGT คือเท่าไร ?
ค่าปกติของ GGT จะแตกต่างกันไปตามช่วงเพศและวัยที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
- ผู้ชายที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ระดับ GGT ปกติในเลือดมักอยู่ระหว่าง 6-38 units/L หรือ 6-38 international units (IU)/L (SI units)
- ผู้หญิงที่มีอายุ 16-44 ปี ระดับ GGT ปกติในเลือดมักอยู่ระหว่าง 4-27 units/L หรือ 4-27 IU/L (SI units)
- ผู้หญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ระดับ GGT ปกติในเลือดมักอยู่ระหว่าง 6-37 units/L หรือ 4-27 IU/L (SI units)
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ระดับ GGT ปกติในเลือดมักอยู่ระหว่าง 3-30 units/L หรือ 3-30 international units (IU)/L (SI units)
- ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้น) จะมีค่าสูงกว่าผู้ใหญ่เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกินมาตรฐานที่กำหนด
หากมีค่า GGT สูงผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพตับ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริง
สาเหตุที่ทำให้ค่า GGT สูงผิดปกติ
เมื่อตรวจแล้วพบว่าค่า GGT สูงผิดปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ตับอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิด A , B, C หรือเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้เซลล์ได้รับความเสียหาย
- การอุดตันของท่อน้ำดี ภาวะที่ท่อน้ำดีตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตับปล่อย GGT ออกมาในปริมาณที่มากขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้เกิดการสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนตับเกิดการอักเสบ และอาจทำให้เป็นโรคตับแข็งในท้ายที่สุด
- การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ซึ่งนอกจากจะทำลายปอดแล้ว ยังทำให้ตับทำงานหนักขึ้นในการกรองและขับสารพิษออกจากร่างกาย
- มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่า GGT สูงได้
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้หัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงตับได้ไม่เพียงพอ ทำให้ค่า GGT สูงขึ้นได้
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชักหรือยาลดไขมัน ยาเม็ดคุมกำเนิด จึงควรแจ้งแพทย์ถึงยาที่รับประทานประจำ
ถ้าค่า GGT สูงควรทำอย่างไร ?
ในกรณีที่ค่า GGT สูง ในอันดับแรกควรปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการรักษา เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง พร้อมกันนี้ควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่เหมาะสม การลดหรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่เข้ามาในร่างกาย ทั้งยังลดภาระของตับและช่วยทำให้ค่า GGT กลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงตับ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ถั่ว ผักใบเขียว หรือไขมันดี
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 20-30 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคตับ กระตุ้นให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดสารพิษในร่างกายได้ดี ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันที่สะสมในตับได้อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีผลต่อตับโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะรับประทานยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะการรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและการทำงานของตับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพตับ และป้องกันความรุนแรงของโรคตับล่วงหน้า เนื่องจากกว่าจะแสดงอาการให้เห็นเด่นชัด มักจะเป็นระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาดีดังเดิม
- รับประทานอาหารเสริมบำรุงตับ การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมตับให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมอีกด้วย
Livplus ลิฟพลัสอาหารเสริมบำรุงตับ ช่วยขับสารพิษ
ดูแลสุขภาพตับของคุณตั้งแต่วันนี้ด้วยอาหารเสริมบำรุงตับ Livplus ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ 100% พิสูจน์แล้วจากงานวิจัยว่ามีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูและบำรุงตับ ระบบทางเดินทางอาหาร และระบบประสาทและสมอง สามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้แล้ววันนี้ที่หน้าเว็บไซต์ หรือทักแชตมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Livplusthailand หรือ Line OA: @Livplusthailand
ข้อมูลอ้างอิง
- Gamma-glutamyl Transferase (GGT) Test. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://medlineplus.gov/lab-tests/gamma-glutamyl-transferase-ggt-test/