You are currently viewing ค่าตับสูง ภัยร้ายอันตราย! เสี่ยงมะเร็งตับ ควรใส่ใจตับก่อนสายเกินแก้

ค่าตับสูง ภัยร้ายอันตราย! เสี่ยงมะเร็งตับ ควรใส่ใจตับก่อนสายเกินแก้

ใครที่มีค่าตับสูง แต่ยังสงสัยว่าอันตรายหรือเปล่า? คำตอบคือ อันตราย!

ค่าตับสูง คือ การที่ตับมีภาวะอักเสบ หรือเซลล์ตับมีความเสียหายเกิดขึ้น ทำให้เอนไซม์รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด นั่นคือ ค่าเอนไซม์ตับ หรือ ALT (SGPT) , AST (SGOT) หมายถึงค่าชี้วัดระดับเอนไซม์พื้นฐานของโรคตับ ซึ่งโดยปกติค่าตับของคนเราจะอยู่ที่ 10 – 40 แต่หากค่าตับเกิน 40 ขึ้นไป แสดงว่าตับของคุณกำลังมีภาวะตับอักเสบ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการดื่มเหล้า, การติดเชื้อไวรัสที่ทำลายตับ ไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี, การกินยาบางชนิดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับตับ และอีกหนึ่งสาเหตุคือ “ไขมันพอกตับ”
.
ค่าตับสูง เกี่ยวกับไขมันพอกตับอย่างไร?
เนื่องจากไขมันพอกตับคือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่สะสมไปใช้ได้หมด จึงเกิดการสะสมของไขมัน อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ ทำให้ตับเกิดการผิดปกติ ยิ่งค่าตับสูงมากเท่าไหร่ และปล่อยไว้นาน ไม่ดูแลรักษาอาจส่งผลร้ายกลายเป็น “ตับแข็ง” และร้ายแรงถึงขั้น “มะเร็งตับ” ได้

สาเหตุอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดไขมันพอกตับ และค่าตับสูง

  1. โรคอ้วน คือ มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ประมาณร้อยละ 20 จะส่งผลให้มีอาการของโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและมีไขมันพอกตับ
  2. การติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายที่พบได้บ่อยคือ ไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคไวรัสตับชนิดต่างๆ
  3. การรับประทานอาหารทอด อาหารมัน ของที่มีรสหวาน และน้ำตาลมากเกินไป
  4. การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และเกิดการสะสมในปริมาณมาก อาจมาจากสารปนเปื้อนในอาหารที่มีสารเคมี การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับตับ เป็นต้น

การดูแลสุขภาพตับ เพื่อควบคุมค่าตับ

  • การควบคุมอาหาร ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรุงสุกสะอาด
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีรสหวาน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อตับ หรือเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดที่ดีต่อตับ เช่น อาร์ติโช๊ค แดนดิไลออน โสมเกาหลี ขมิ้น เป็นต้น

เมื่อตับแข็งแรง เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ระดับระดับเอนไซม์ในตับก็จะลดลง และกลับสู่ปกติเช่นกัน
.
“ลิฟพลัส” มีสารสกัดธรรมชาติ ถึง 12 ชนิด เช่น อาร์ติโช๊ค แดนดิไลออน ขมิ้น โสมเกาหลี เป็นต้น กระตุ้นการสร้างน้ำดีในการช่วยย่อย ให้ตับและระบบทางเดินอาหารกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สนใจสอบถาม โทร : 098-264-2464 หรือ LINE : @livplusthailand หรือคลิก >> http://bit.ly/LINE-LIV_031

ข้อมูลอ้างอิง :
Bankok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ : https://www.facebook.com/BangkokHospital/photos/a.110810943139/10158642259138140/
POBPAD : https://www.pobpad.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A
https://www.pobpad.com/
POBPAD : https://www.pobpad.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7
Bumrungrad International Hospital : https://www.bumrungrad.com/th/conditions/fatty-liver-disease
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ : https://www.thainakarin.co.th/news.php?p=knowledge_detail&id=1

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือโทรสั่งซื้อสินค้า

This Post Has 2 Comments

  1. ฐิติรัตน์

    ไตกีรลาย ไขมันถึง 350 อัตรายมากไหม มีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ

    1. admin-livplus

      การมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงถึง 350 ถือว่าสูงกว่าค่าปกติ (ปกติไม่เกิน 150 mg/dL) ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายมีไขมันชนิดนี้สะสมมากเกินไป และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ
      ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคต่างๆ ได้แก่
      ไขมันพอกตับ: ใช่ค่ะ ไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นสาเหตุหลักของโรคไขมันพอกตับ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่การอักเสบของตับ และพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็งได้
      โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง: ไขมันชนิดนี้เมื่อสะสมมากเกินไป จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
      ตับอ่อนอักเสบ: เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของตับอ่อนได้

ใส่ความเห็น